วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558



                Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ  เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ

          เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ซึ่งตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebook บ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebook จึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง ไอเดีย เริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริงๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต

ความเป็นมาและความสำคัญ
          ในยุคโลกาภิวัตน์ผู้คนมีความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของมุมโลก ขอแค่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถติดต่อโลกภายนอกได้แล้ว ทั้งสะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง วิวัฒนาการของการติดต่อสื่อสารเริ่มมาตั้งแต่ยุคของจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ จนกระทั่งขณะนี้เราได้ก้าวเข้าสู่ในยุคที่เรียกได้ว่าเป็นยุคที่ไร้พรมแดน เป็นยุคไร้สาย ผู้คนสามารถเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร ได้ทุกที่ทุกเวลา
          ปัจจุบันมีช่องทางการติดต่อสื่อสารมากมาย หนึ่งในนั้นคือ Facebook คือสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมของประชากรโลกใน ณ ขณะนี้ เพราะการใช้งานที่ง่ายและมี application ที่สามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้ สะดวกและรวดเร็ว มีการแจ้งเตือนแบบทันท่วงทีไม่พลาดทุกการเคลื่อนไหวของเพื่อนในเฟซบุ๊ก
          การเรียนการสอนในยุคนี้ก็เช่นเดียวกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเฟซบุ๊กมีส่วนช่วยในการเรียนการสอนของนักเรียนในยุคที่ก้าวกระโดดเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเพจเฟซบุ๊กเพื่อใช้ในการติดต่อนักเรียนและส่งงาน เพราะถ้าในยุคสมัยก่อนต้องโทรศัพท์หารนักเรียน เวลาจะส่งงานก็ต้องเซฟใส่แฟลชไดร์ฟมาส่ง แต่ในยุคนี้สามารถทั้งติดต่อสื่อสารนักเรียนในชั้นเรียน นัดหมายเวลาเรียน หรือแม้กระทั่งส่งงาม ทำให้ประหยัดและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเงินและเสียเวลาเหมือนอย่างเมื่อก่อน สามารถแชร์สื่อการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน วิดีโอเกี่ยวกับการเรียน สามารถดูได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเข้าถึงของอินเทอร์เน็ตได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ
          การศึกษาอิสระเรื่องการใช้เฟซบุ๊กเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนจัดทำเพื่อเรียนรู้การประยุกต์เทคโนโลยีในปัจจุบันให้สอดคล้องกับการศึกษา ทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพ รวดเร็ว สามารถเข้าถึงเด็กยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย สามารถตอบโต้กันได้ทันท่วงที และสามารถสืบค้นข้อมูลที่อยู่นอกห้องเรียนได้

ขอบเขต
          นักเรียนและนิสิตทั่วไป

แนวทางการใช้ Facebook เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
          บทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอการประยุกต์ใช้ Facebook ใน interactive classroom แบบต่างๆ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแก่ผู้สอนทั้งผู้ที่เคยใช้ Facebook กับชั้นเรียนและผู้ที่ยังไม่เคยใช้ Facebook ในชั้นเรียน ผู้เขียนหวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านได้เห็นว่า Facebook เป็นสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมในยุคนี้อย่างแท้จริงเราสามารถแบ่งลักษณะของการใช้ Facebook กับชั้นเรียน ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ และ เพื่อการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการและการเรียนรู้นอกเวลา การใช้ Facebook กับการเรียนรู้ทั้งสองแบบแสดงในตารางด้านล่างนี้

เป็นแหล่งข้อมูล
          เพราะ Facebook เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้เรียนสามารถใช้ Facebook Status ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการโยนคำถามไว้ที่หน้า Wall หรือโพสคำถามไว้ตาม Facebook Group หรือ Page ที่ตนสนใจ Facebook ทั้ง Page ในประเทศและต่างประเทศ หรือใช้เพื่อติดต่อกับคนในครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก หรือคนมีชื่อเสียงที่เปิดตัวใน Facebook เพื่อให้ได้ข้อมูล insides ด้านต่างๆ หรือจะหาข้อมูลจากแหล่งความรู้อื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ นิทรรศการ การบรรยายที่เปิดให้กับบุคคลทั่วไป ฯลฯ ผู้เรียนสามารถใช้ Facebook เพื่อเข้าร่วมชั้นเรียนออนไลน์ในรายวิชาใกล้เคียงอื่นๆ ที่ตนสนใจหรือติดตามสถานการณ์ปัจจุบันแล้วนำมาประยุกต์กับเนื้อหาในชั้นเรียน นอกจากนี้แล้ว บางเกมส์ใน Facebook ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา เช่น Facebook Crosswords เป็นต้น ผู้สอนอาจนำมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนได้

เป็นส่วนหนึ่งของ Projects และ Assignments ต่างๆ
          เพราะ Facebook คือประตูสู่โลกโลกกว้าง ผู้เรียนสามารถเข้าร่วมงานประกวดหรือโปรเจคต่างๆ ที่บริษัทหรือองค์กรชั้นนำได้โพสไว้ใน Facebook เป็นการเตรียมความพร้อมสู่โลกของการทำงานให้ผู้เรียน หากมองเพียงมุมมองของชั้นเรียน ผู้สอนสามารถมอบหมายงานให้ผู้เรียนนำเสนอผ่านหน้า Facebook เช่น สรุปบทเรียน, รีวิวหนังสือของชั้นเรียน, ให้ผู้เรียนทำ Facebook application ซึ่งรันได้จริงบน Facebook, โพสข้อมูลได้ที่ค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลาย เช่น โพสเก่าๆ ของนักเขียนหรือบรรณาธิการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา, Links/รูป/คลิปวีดีโอที่ shared บน Facebook  เป็นต้น ข้อดีหนึ่งของการให้ผู้เรียนนำเสนองานบน Facebook คือ ผู้เรียนเองเห็นถึงการพัฒนาด้านการศึกษาของตนเองผ่านชิ้นงานต่างๆ และเป็นแหล่งรวบรวม profile ของทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้

เป็นเหล่งรวบรวมและแบ่งปันความรู้
          ผู้สอนสามารถใช้ Facebook เพื่อรวบรวมเอกสารประกอบการบรรยาย, video link บันทึกการบรรยาย, หัวข้อและผลของการอภิปรายในชั้นเรียน หรือข้อมูลสำคัญอื่นๆ ไว้บน Facebook เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ทบทวนชั้นเรียน นอกจากนี้ Facebook ยังใช้เพื่อรวบรวมภาพกิจกรรมต่างๆ ของชั้นเรียนเป็นการประชาสัมพันธ์และบันทึกการเรียนรู้

 เป็นแหล่งรวบรวมความร่วมมือและการอภิปราย
          ในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนร่วมถามคำถาม แสดงความคิดเห็น หรืออภิปรายผ่านหน้า Wall ของ Facebook Group ได้ วิธีนี้จะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนจากผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหน้าชั้นเรียนได้ ส่วนนอกชั้นเรียน ผู้เรียนก็สามารถติดต่อกับผู้เรียนจากทั่วทุกมุมโลกหรือแม้กระทั่งผู้เรียนที่จบการศึกษาไปแล้วด้วย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา นอกจากนี้ ผู้สอนสามารถใช้ Facebook เพื่อรวบรวมผลตอบรับของ assignment หรือกิจกรรมต่างๆ จากผู้เรียนได้อีกด้วย
          หากในมุมมองด้านภาษา ด้วยธรรมชาติของการโต้ตอบบน Facebook ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะด้านการเขียนไปด้วย โดยเพื่อนร่วมชั้นสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะอยู่ในสายตาของผู้สอน หรือผู้สอนสามารถเชิญ guest speaker จากทั่วทุกมุมโลกผ่านทาง Facebook ให้มาบรรยายเพิ่มเติม เป็นการช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาให้แก่ผู้เรียนได้มากขึ้น

เป็นผู้ช่วยในการจัดการชั้นเรียน
          เมื่อผู้สอนได้มอบหมายงานไปแล้ว Facebook สามารถถูกใช้เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานได้โดยผ่านหน้า Wall ของ Facebook Group และหากผู้เรียนทำผลงานได้ดี ผู้สอนชื่นชมผลงานที่ดีที่สุดของชั้นเรียนบนหน้า Wall จะช่วยกระตุ้นความตั้งใจของผู้เรียนในการสร้างผลงานชิ้นถัดๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น
หากการอภิปรายในชั้นเรียนไม่สามารถหาข้อสรุปได้ภายในเวลา ผู้สอนสามารถใช้ Facebook Group ในการจัดการอภิปรายต่อก่อนที่ชั้นเรียนถัดไปจะเริ่มขึ้น หรือหากในชั้นเรียน มีเนื้อหาหรือข้อคำถามที่ผู้สอนไม่สามารถอธิบายให้ผู้เรียนทั้งชั้นเรียนเข้าใจไปพร้อมๆ กันในเวลาอันสั้นได้ ผู้สอนสามารถใช้ หน้า Wall ของ Facebook Group เพื่อชี้แจง ไขข้อสงสัยให้ชัดเจน โดยผู้สอนจะเห็นปฏิกิริยาของผู้เรียนต่อโพสของตนผ่านการตอบสนองแบบต่างๆ เช่น Like หรือ Comments เป็นต้น ผู้เรียนเองมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
          ด้านการวัดผลและประเมินผล ผู้สอนสามารถใช้ Facebook เพื่อดูผลตอบรับของผู้เรียนต่อข้อสอบปลายภาคได้ input ต่างๆ เหล่านี้ มีส่วนช่วยผู้สอนในการประเมินผลของชั้นเรียนและการเรียนการสอนได้ เพื่อการพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป
         
          นอกจากประเด็นหลักข้างต้น ผู้สอนสามารถโพสกิจกรรมของชั้นเรียนผ่าน Facebook Event ซึ่งบันทึกลง Facebook calendar ของผู้เรียนได้ด้วย จะช่วยผู้เรียนและผู้สอนบริหารเวลาส่วนตัวและเวลาเรียนได้ดียิ่งขึ้น ส่วนในด้านสังคมนั้น ผู้สอนจะรู้จักและเข้าใจผู้เรียนของตนได้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านหน้า Wall และ Posts ต่างๆ ที่ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นไว้
          Facebook มี feature ต่างๆ มากมายที่จะรองรับ interactive classroom ได้ ขอเพียงผู้สอนไม่มองข้ามเทคโนโลยีใกล้ตัว ที่ใช้งานง่ายและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ไป แต่การใช้เทคโนโลยีย่อมมีข้อพึงระวัง ผู้สอนควรสร้างระยะห่างระหว่างเพจส่วนตัวและเพจโพรเฟสชั่นนอล เพื่อปกป้องพื้นที่ส่วนตัวของตน นอกจากนี้ ผู้สอนควรแนะนำผู้เรียนเกี่ยวกับข้อตกลงและมารยาทในการใช้พื้นที่สังคมออนไลน์นี้ด้วย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        จากการที่ได้ประยุกต์การนำ Facebook มาสนับสนุนการเรียนการสอน พบว่า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากขึ้น สามารถติดต่อกับผู้สอนและผู้เรียนได้อย่างทันท่วงที ความสามารถต่างๆที่ Facebook มี ไม่ใช่แค่โพสต์หรือแชร์ได้อย่างเดียว สามารถทำแนวสอบถามความเห็น การโหวต หรือการวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มต่างๆได้ การส่งงานทาง Facebook ทำให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถส่งและแก้ไขส่วนต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
          ผู้เรียนหรือผู้สอนสามารถสร้าง Facebook Page เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ในกลุ่มเรียน สามารถแชร์เรื่องราว ตารางเรียน การแก้ไขตารางเรียน ส่งงาน หรือการออกความเห็นเกี่ยวกับงานที่ส่งในกลุ่มห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแชร์บทเรียนเพิ่มเติมจากที่สอนในชั้นเรียน คลิปวิดีโอที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นๆ ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
          การใช้ App Facebook ใน Smart Phone ทำให้สามารถมีการแจ้งเตือนได้อย่างทันท่วงทีเพราะจะมีการแจ้งเตือน Pop Up บนหน้าจอ ทำให้ไม่พลาดทุกกิจกรรมและความเคลื่อนไหวในกลุ่ม Facebook ในชั้นเรียน สามารถแก้ไขงานหรือเพิ่มส่วนต่างๆของงานได้อย่างง่ายดาย สะดวกทุกที่ทุกเวลา

สรุปและอภิปราย
          ทุกวันนี้ Internet เป็นการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลหรือความรู้ได้อย่างง่ายดาย ทำให้เชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกันโดยผ่าน Social Media อย่าง Facebook เป็น Platform ที่มีความนิยมที่สุดของสังคมสมัยนี้ ท่านสามารถโพสต์ แชร์หรือบอกตัวตนของคุณลงในนี้ได้
          การศึกษาสมัยนี้ก็เช่นเดียวกัน Facebook เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีความสำคัญของผู้เรียนที่ผู้สอนมาก เพราะสามารถติดต่อสื่อสารกันหรือแม้กระทั่งส่งงานก็สมารถทำได้เช่นกัน สามารถนัดหมายหรือทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
          แนวโน้มของการใช้ Facebook กับการเรียนการสอน มีแนวโน้มอย่างชัดเจน เกือบจะทุกที่ที่ใช้วิธีนี้ในการช่วยการเรียนการสอน เพราะทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาที่เสียไป